ยา PEP

PrEP และ PEP คือยาอะไร? 

ทั้ง PrEP และ PEP คือยาป้องกันการติดเชื้อ HIV เหมือนกัน หากแตกต่างกันตรงที่ PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis ซึ่งหมายถึงเป็นการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนที่เราจะมีความเสี่ยง แต่ในส่วนของ PEP คือ Post-Exposure Prophylaxis ซึ่งเป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังจากที่เราได้รับความเสี่ยงมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยยาทั้ง 2 ชนิด จะใช้ได้ผลในกรณีที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV เท่านั้น 

PrEP และ PEP ยาชนิดไหน เหมาะกับใคร?

ยา PrEP ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี ?

ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) ประกอบด้วยตัวยา 2 ชนิดใน 1 เม็ด (Fix Dose Communication) สามารถใช้ได้ใน 2 รูปแบบ คือแบบ Daily PrEP กินทุกวันติดต่อกัน กับแบบ On Demand PrEP ใช้กินเมื่อทราบและวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะมีความเสี่ยง ซึ่งจะกินในระยะเวลาสั้นๆ แต่ในประเทศไทยเราจะนิยมใช้แบบ Daily PrEP มากกว่า เพราะในปัจจุบันการใช้ On Demand PrEP ยังมีการศึกษาผลการใช้ในเฉพาะกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์แบบชายรักชาย และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอีกเสบบีร่วมด้วย 

วิธีการใช้ Daily PrEP

วิธีการใช้ On Demand PrEP

On Demand PrEP จะมีวิธีการใช้ที่ค่อนข้างจำเพาะ โดยจะต้องกินยา 2 เม็ด ล่วงหน้า 2-24 ชั่วโมงก่อนที่จะมีความเสี่ยงได้รับเชื้อ และหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ต้องกินยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด และกินต่อเนื่องไปอีก 2 วันหลังหมดความเสี่ยง หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย เช่น สมมติจะได้รับความเสี่ยงวันจันทร์ตอนกลางคืน ก็ควรกิน On Demand PrEP ในวันจันทร์ตอน เวลา 9 โมงเช้า 2 เม็ด จากนั้นก็กินทุกวัน วันละ 1 เม็ดตอนเวลา 9 โมง พอวันพุธแฟนกลับบ้านแล้ว ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์แน่นอน ก็ให้กินยาต่อไปอีก 2 วัน คือวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ในเวลา 9 โมง จึงหยุดกินยา

“มีการศึกษาพบว่าถ้ากินยา PrEP อย่างถูกวิธี ตรงเวลา สม่ำเสมอ

จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ถึง 90%”

Q&A

PrEP และ PEP มีผลข้างเคียงหรือไม่?

ยาทั้ง 2 ชนิด อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ทำให้รู้สึกเพลีย เวียนหัว คลื่นไส้ ในช่วง 2-3 วันแรกของการใช้ยา เนื่องจากร่างกายยังไม่คุ้นชินกับยา แต่ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

รุกหรือรับ ฝ่ายไหนเสี่ยงติดเชื้อ HIV กว่ากัน?

ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์แบบชายกับชาย หรือชายกับหญิง ก็มีผลการศึกษาในทิศทางที่สอดคล้องกันว่า “ฝ่ายรับ” จะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HIV มากกว่า เนื่องจากมีโอกาสเกิดบาดแผลจากการมีเพศสัมพันธ์มากกว่า และเป็นฝ่ายที่ได้รับสารคัดหลั่ง จึงมีโอกาสที่เชื้อจะผ่านเข้าสู่บาดแผลได้มากกว่าฝ่ายรุก

Oral SEX กับผู้ติดเชื้อ HIV เสี่ยงหรือไม่เสี่ยง?

ตอบชัดๆ เลยว่า “มีโอกาสเสี่ยง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีแผลในปากก็จะมีโอกาสได้รับเชื้อได้  แต่ก็ต้องพิจารณาอีกว่าผู้ที่ติดเชื้อ HIV นั้นได้รับการรักษาแล้วหรือไม่ หากมีการรักษาจนระดับเชื้อไม่แพร่กระจายแล้ว หรือที่เรียกกันว่า U=U (Undetectable=Untransmittable) โอกาสติดเชื้อก็จะค่อนข้างน้อย

ใช้ยา PrEP / PEP แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย จริงหรือ?

อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะไม่ว่าจะเป็นยา PrEP หรือ PEP ก็สามารถป้องกันได้แค่เชื้อ HIV เท่านั้น แต่ย้ำชัดๆ ว่าไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ ฉะนั้นแม้ว่าจะได้รับยา PrEP / PEP แล้ว ก็แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

โรงพยาบาลพญาไท : https://www.phyathai.com/th/article/prep-and-pep