RSU New Gen x Pride Clinic

คลินิกเพศพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต

โครงการคลินิกเพศพันธุ์ใหม่

(RSU NEW GEN x PRIDE CLINIC)

                                                                                                  

---------------------------------------

1. ชื่อโครงการ

       โครงการคลินิกเพศพันธุ์ใหม่ (RSU NEW GEN x PRIDE CLINIC)

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

       สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

3. หลักการและเหตุผล

       โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections: STIs) มีแนวโน้มกลับมาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขอีกครั้ง จากการรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24 ปี) พบว่าอัตราการป่วยสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ดังนั้นการตอบสนองต่อโรคเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลรอบด้าน และทันสมัย โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่า โรคระบาดของเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ผู้เสียชีวิตถึง 2.5 ล้านคนต่อปี ตามรายงาน เรื่อง “การดำเนินการตามกลยุทธ์ภาคสุขภาพโลกเกี่ยวกับเอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2022–2030” ข้อมูลใหม่แสดงให้เห็นว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาค (WHO, 2024) ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) นำเสนอข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วนที่สุดเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ต้องรายงานตามกฎหมายสำหรับโครงการควบคุมที่ได้รับทุนจากรัฐบาลกลาง รายงานประจำปีของ CDC เน้นย้ำว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องเป็นลำดับความสำคัญทางสาธารณสุข ในปี 2022 มีรายงานผู้ป่วยซิฟิลิส หนองในแท้ และหนองในเทียมกว่า 2.5 ล้านรายในสหรัฐอเมริกา ข้อกังวลที่น่าตกใจที่สุดคือการแพร่ระบาดของซิฟิลิสและซิฟิลิสในทารกแรกเกิด ซึ่งสัญญาณเตือนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (CDC,2024)

ในประเทศไทย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ซิฟิลิส (Treponema pallidum), หนองใน (Neisseria gonorrhoeae), หนองในเทียม (Chlamydia trachomatis), และพยาธิช่องคลอด (Trichomonas vaginalis) มีการติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อวัน รายงานบันทึกการเพิ่มขึ้นของซิฟิลิสในผู้ใหญ่และมารดา (1.1 ล้านคน) และซิฟิลิสในทารกแรกเกิด (523 รายต่อประชากรเกิดเป็นพันชีวิตต่อปี) ระหว่างการระบาดของ COVID-19 ในปี 2022 มีผู้เสียชีวิตจากซิฟิลิส 230,000 คน ข้อมูลใหม่ยังแสดงการเพิ่มขึ้นของหนองในดื้อยาหลายชนิด และกลุ่มประชากรสำคัญห้ากลุ่ม ได้แก่ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, ผู้ใช้สารเสพติดโดยการฉีด, ผู้ค้าบริการทางเพศ, บุคคลข้ามเพศ และบุคคลในเรือนจำและสถานที่ปิดอื่นๆ ยังคงมีอัตราการติดเชื้อ HIV สูงกว่าประชากรทั่วไปมาก โดยประมาณ 55% ของการติดเชื้อเอชไอวีใหม่เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเหล่านี้และคู่ของพวกเขา ในปี 2022 มีผู้เสียชีวิตจากเอชไอวีจำนวน 630,000 คน โดย 13 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้ เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค (กรมควบคุมโรค, 2565)

สถิติคลินิกเวชกรรม หลังโควิด ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2566 พบว่ามีการรายงานโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น โรคเอชไอวี โรคหนองใน โรคติดเชื้อบริเวณช่องคลอดและโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญและในช่วงครึ่งปี 2567 ตั้งแต่ มกราคม 2567-มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คลินิกฯ มีผู้ป่วยเข้ามารับบริการมากกว่า10 ราย ในแต่ละเดือน บางรายรอจนกระทั่งเกิดอาการแสดงของโรค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญและต้องการการดูแลเป็นพิเศษการพัฒนาโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การรักษาและการป้องกันมีประสิทธิภาพสูงสุดและง่ายต่อการเข้าถึง ดังนั้นสำนักงานสวัสดิการสุขภาพ (Office of Health Welfare) ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านบริการสวัสดิการสุขภาพแก่นักศึกษาและบุคลากร ได้เล็งเห็นความสำคัญและประเด็นปัญหาเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการ "RSU NEW GEN x PRIDE Clinic" โดยพัฒนาคลินิกเรื่องเพศและไลน์ออฟฟิเชียลขึ้น เพื่อให้บริการสุขภาพที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับวัยรุ่นกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งการบริการในรูปแบบคลินิกฯ การให้การรักษาแบบออนไลน์ผ่านวิดีโอคอลการให้คำแนะนำด้วยบอทไลน์ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศ สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตใจของวัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทีมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์              นักจิตวิทยาคำปรึกษาและสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ การคัดกรอง การให้คำปรึกษา การรักษาและการส่งต่อเพื่อเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งในส่วนของความเป็นส่วนตัวของ ผู้เข้าใช้บริการ ทางโครงการฯซึ่งอยู่ภายใต้ของการดำเนินการของมหาวิทยาลัยรังสิต การจัดเก็บ รวบรวม ใช้และจะเปิดเผยข้อมูลของผู้เข้ารับบริการเฉพาะให้แก่ ส่วนงานหรือบุคคล ที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลจะถูกใช้เท่าที่จำเป็นต่อการรักษา ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562) PDPA (2019) และจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้เข้ารับบริการได้เฉพาะสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเท่านั้น นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังมีการให้ความรู้และการรณรงค์ทุกช่องทาง ให้โครงการฯได้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ


4. วัตถุประสงค์

4.1 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศที่ครอบคลุมและทันสมัยสำหรับวัยรุ่นกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ

4.2 เพื่อให้การรักษา คำปรึกษา และการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

4.3 เพื่อส่งเสริมความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคในกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง

       4.4 เพื่อสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

       4.5 เพื่อรวบรวมข้อมูลและสถิติที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวางแผนและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ลักษณะโครงการ

โครงการ "RSU NEW GEN x PRIDE CLINIC" เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพทางเพศแบบครบวงจรและทันสมัย โดยมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่ม      การเข้าถึงและประสิทธิภาพในการบริการสุขภาพ ในกลุ่มวัยรุ่นทั่วไปและกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีลักษณะโครงการดังนี้:

5.1  การให้บริการสุขภาพทางเพศในรูปแบบคลินิก

5.1.1 เปิดให้บริการที่คลินิกเวชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต โดยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยาคำปรึกษา เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

5.1.2 ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา คัดกรอง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความหลากหลายทางเพศรวมถึงการจัดเตรียมและแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงยางอนามัย        ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ชุดตรวจเอชพีวีด้วยตนเอง และสารหล่อลื่น เป็นต้น

5.2  การให้บริการออนไลน์ผ่านวิดีโอคอลและบอทไลน์ ทั้งทางด้านการให้คำปรึกษาและการรักษา

5.2.1 พัฒนาระบบการให้บริการออนไลน์ผ่านวิดีโอคอลเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงการรักษาและคำปรึกษาจากทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ด้วยระบบวิดีโอคอล

5.2.2 การทำแบบทดสอบทางสุขภาพจิตเบื้องต้น (2Q)และแบบทดสอบความเสี่ยงโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

5.2.3 ระบบใบรับรองแพทย์อิเล็กทรอนิกส์

5.2.4  ใช้บอทไลน์ในการให้คำแนะนำเบื้องต้นและการแจ้งเตือนการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

5.2.5  ให้บริการผ่าน LINE Official Account ของคลินิก เพื่อความสะดวกในการติดตามผลและการนัดหมาย

5.2.6  การแจ้งเตือนการรับประทานยาที่ได้รับจากคลินิกฯ การติดตามการรับประทานยาและผลของการใช้ยา

5.2.7 การขอรับถุงยางอนามัย ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ชุดตรวจเอชพีวีด้วยตนเอง และสารหล่อลื่น ด้วยวิธีปกปิด โดยการใช้รหัสที่สุ่มจากระบบแจ้งมาขอรับซองปกปิดผลิตภัณฑ์ที่มีรหัสตรงกัน

5.2.8  ตอบปัญหาสุขภาพด้วยชุดคำถามของไลน์บอทและสนทนากับทีมสหวิชาชีพโดยตรง

5.2.9 การให้คำปรึกษา เรื่อง การโดนเหยียด ถูกการทารุณกรรม การทำร้ายร่างกาย ในทุกรูปแบบ ตลอดจนการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาและป้องกันสวัสดิภาพของนักศึกษา

5.3  การให้ความรู้และการรณรงค์

5.3.1 จัดกิจกรรมการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพทางเพศผ่านการจัดสัมมนาและการอบรมออนไลน์

5.3.2 รณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และช่องทางต่างๆ เพื่อเพิ่มการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

5.3.3 การให้บริการวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพยาบาลในแต่ละสาขา

5.3.4 การรณรงค์ลดปัญหาเรื่อง การเหยียด การทารุณกรรม การทำร้ายร่างกาย ทุกรูปแบบ

5.4  การวิจัยและการเก็บข้อมูล

5.4.1ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนและพัฒนาการดำเนินงานของโครงการ

5.4.2จัดทำฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและทันสมัยเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการป้องกันและการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

5.4.3การติดตาม อาการ แผน-ผลการรักษา สภาวะจิตใจและรูปแบบของการรักษาของผู้เข้าใช้บริการ

6. ที่ปรึกษาโครงการ

ด้านการแพทย์และอำนวยการ

6.1   นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์  

รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ ม.รังสิต

6.2   นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย          

คณบดีกิตติคุณวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกและผู้ดำเนินการคลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.3   ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ศิริกุลชยานนท์

   สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต

6.4   นางปราณี บุญญา

       ผู้อำนวยการ สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.5 ทีมแพทย์คลินิกเวชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

ฝ่ายการพยาบาล

6.5   นายรชานนท์ สากล  (ประธานโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการ) 

พยาบาลวิชาชีพและสารสนเทศฯ สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.6   นายกวี ภัทรยุคลธร

พยาบาลวิชาชีพ สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.7   นางสาวอุมา คุ้มวงศ์

พยาบาลวิชาชีพ สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.8   นางสาวภัทราพร จันทรังษี            

พยาบาลวิชาชีพ สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.9   ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.อรอุมา ธรรมผล

       พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

6.10  ดร.สุภาว์ ปัทเกษม

พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

6.10 อาจารย์ ศิราพร ศีลพิพัฒน์

   พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

6.11 อาจารย์ ปัทมาพร ธรรมผล

   พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ฝ่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต

6.12 นายภาสุร จึงแย้มปิ่น
      นักจิตวิทยาคำปรึกษา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.13 นางสาวบุญจิรา ชลธารนที
      นักจิตวิทยาคำปรึกษา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.14 นางสาวธัญภัสสร คล่องแคล่ว
      นักจิตวิทยาคำปรึกษา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.15 นางสาวสิรีธร วิถุนัด
      นักจิตวิทยา สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ คลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

ฝ่ายเภสัชกร

6.16 ดร.ภญ.สุคนธา หาสาสน์ศรี
      อาจารย์ประจำหมวดวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติทั่วไปฯ และ ผู้จัดการห้องยาคลินิกเวชกรรม ม.รังสิต

6.17 อ.ภก.ชัยวัฒน์ ลิ้มประเสริฐ
      อาจารย์ประจำหมวดวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติเฉพาะทาง คณะเภสัชศาสตร์

6.18 อ.ภก.พรหมพิริยะ ปิติรัตนวรนาท
      อาจารย์ประจำหมวดวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติเฉพาะทาง คณะเภสัชศาสตร์

ฝ่ายเทคนิคการแพทย์

6.19 ผศ.ดร.จิราภรณ์ เกตุดี

       รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเทคนิคการแพทย์

6.20 ดร.อัญชลี ต้นสมบูรณ์

       อาจารย์เชี่ยวชาญฯ คณะเทคนิคการแพทย์

6.21 อาจารย์กฤตพัชร เกียรติรุ่งเรือง

       อาจารย์เชี่ยวชาญฯ คณะเทคนิคการแพทย์

6.22 นายอภิ กุลเสฏฐวุฒิ

       นักเทคนิคการแพทย์ ประจำคลินิกเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

6.23 ผศ.ดร.ภาคภูมิ ชัยศิริประเสริฐ

       รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี ม.รังสิต

6.24 ผศ.ดร.กานต์ ยงศิริวิทย์

       หัวหน้าสาขานวัตกรรมดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี ม.รังสิต

6.25 ผศ.ดร.ธรรณพ อารีพรรค

       ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ม.รังสิต


ฝ่ายผู้แทนนักศึกษา

6.26 นายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต

6.27 ชมรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต

หน่วยงานเครือข่าย
6.28 คลินิกนิรนาม โรงพยาบาลปทุมธานี
6.29 สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

7. ผู้เข้าร่วมโครงการ
7.1 กลุ่มนักศึกษาเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษา ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรังสิต ทุกชั้นปี