งานประกันคุณภาพ
สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ (Office of Health Welfare) ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน มีหน่วยงานในสังกัด 2 หน่วย คือ หน่วยบริการสุขภาพ (Health Center) และหน่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต (Counselling Center) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพัฒนางานด้านสวัสดิการสุขภาพ โดยดำเนินงานโครงการและกิจกรรมด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ การรักษา การป้องกันโรคและการเจ็บป่วย การฟื้นฟู สุขภาวะ และการส่งเสริมสุขภาพ โดยประสานการดำเนินงานานการดูแลสร้างเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกับคณะ/หน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดดังนี้
1. หน่วยบริการสุขภาพ (Health Center) มีหน้าที่ดูแลจัดบริการสวัสดิการด้านสุขภาพให้แก่นักศึกษาและบุคลากร โดยเปิดคลินิกเวชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิประจำ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.เขต 4 สระบุรี) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561-ปัจจุบัน เปิดบริการทุกวันทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 –20.00 น. ให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยพยาบาลวิชาชีพ ตรวจรักษาโรคทั่วไป โดยมีแพทย์ประจำทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดตามประกาศของมหาวิทยาลัย รวมทั้งดำเนินงานโครงการหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) มีหน่วยร่วมบริการ เช่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกการแพทย์แผนตะวันออก คลินิกรังสีเทคนิค และมีโรงพยาบาลปทุมธานีเป็นหน่วยรับส่งต่อ ซึ่งนักศึกษาที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยหนักมีอาการรุนแรงหรือซับซ้อนจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลปทุมธานี ส่วนบุคลากร หรือ นักศึกษาที่ไม่ได้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ จะนำส่งโรงพยาบาลเครือข่ายใกล้เคียง ตามสิทธิที่บุคคลนั้นได้รับ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิครอบครัวข้าราชการ และประกันชีวิตส่วนบุคคลเป็นต้น ปัจจุบันนักศึกษาโอนย้ายและขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพมาที่คลินิกเวชกรรมมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 7,252 คน (สำรวจ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565) รวมทั้งให้บริการสวัสดิการด้านการประกันอุบัติเหตุ และมีบริการจัดรถพยาบาลรับส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ตลอด 24 ชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่ขับรถดูแลและปฏิบัติการช่วยเหลือนักศึกษาบุคลากรที่เจ็บป่วยภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้รับบริการสามารถประสานงานขอรถพยาบาล ผ่านตำรวจมหาวิทยาลัยในทุกอาคาร และสำนักงานหอพัก เพื่อนำส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลใกล้เคียง รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วและปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ นิเทศศาสตร์ จิตวิทยาการปรึกษา สารสนเทศทางการแพทย์และการพยาบาล เป็นต้น
2. หน่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต (Counseling Center) มีหน้าที่รับผิดชอบงานบริการด้านการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา การพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตสังคม บุคลิกภาพ พฤติกรรมและการปรับตัว มีบริการคลินิกอดบุหรี่ รักษาและให้คำปรึกษาอาการติดบุหรี่ให้แก่ผู้รับบริการ อาทิ นักศึกษา บุคลากร ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการบำบัดอาการติดบุหรี่ การลด ละ เลิกบุหรี่ได้ถาวร โดยมีแพทย์ และ นักจิตวิทยาให้การปรึกษา บำบัดพฤติกรรม(Behavior therapy =BT.) และบำบัดพฤติกรรมทางความคิด( Cognitive Behavior therapy =CBT) รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 เข้าฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้รับบริการในคลินิกอดบุหรี่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ได้ประสานงานการดูแลนักศึกษาผู้พิการในสถาบันกับ สำนักงานทะเบียน สำนักงานมาตรฐานวิชาการ และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นอกจากนี้หน่วยงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายอาจารย์ที่ปรึกษา ร่วมกันดูแลนักศึกษาและบุคลากรในคณะและหน่วยงานต่าง ๆ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหน่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต รวม 81 คน ซึ่งมีวาระการปฏิบัติงาน 2 ปี (เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565)
ผลการดำเนินงาน
ตลอดปีการศึกษา พ.ศ. 2564 สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมงานสุขภาพทุกมิติ โดยมีทีมบุคลากร สหวิชาชีพให้บริการ เปิดให้บริการการตรวจรักษาโรคทั่วไป และถ้ามีผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน หรือเจ็บป่วยซับซ้อน รุนแรง ก็สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม และโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรคและการเจ็บป่วย รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ป่วยเรื้อรัง และมีการประสานกับเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย อาทิ คลินิกเวชกรรมอาร์เอสยู ศูนย์รังสิต คลินิกทันตกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกแพทย์แผนตะวันออก คณะรังสีเทคนิค เข้าเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการสุขภาพด้านอื่นๆ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการเครือข่าย เพื่อให้นักศึกษา บุคลากรเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย มีระบบการดูแลทั้งในภาวะปกติ ภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อย และถ้ามีภาวะวิกฤติฉุกเฉิน สามารถใช้บริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิประจำ หรือโรงพยาบาลเครือข่ายที่ใกล้ที่สุด
องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน
สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ ได้ดำเนินงานตามปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งสอดคล้องกับฝ่ายกิจการนักศึกษาและมหาวิทยาลัยรังสิต
องค์ประกอบที่ 2 ภาระงานหลัก
สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 2 หน่วย คือ หน่วยบริการสุขภาพ (คลินิกเวชกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต) และหน่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต (คลินิกการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา) มีภารกิจหลักคือ งานให้บริการสวัสดิการด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม และดำเนินงานกิจกรรมในโครงการต่าง ๆ ที่เน้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาวะในทุกมิติ ประกอบด้วยงานภาระงานหลัก และภาระงานพิเศษ ที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายกิจการนักศึกษา และมหาวิทยาลัย สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ ปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจพิเศษต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยงานบริการสวัสดิการสุขภาพ จะยึดผู้ป่วยและผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางการดูแล มีทีมสุขภาพที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพสาขาต่างๆ ร่วมกันปฏิบัติงาน อาทิ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักจิตวิทยา นักสุขศึกษา นักวิชาการสาธารณสุข ทำงานเป็นทีม และเครือข่ายอาจารย์ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาจากวิทยาลัย/คณะต่าง ๆ ร่วมให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถปรับตัวแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งจัดโครงการและกิจกรรม ต่าง ๆ ให้แก่นักศึกษา บุคลากรและผู้รับบริการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดูแลสุขภาวะองค์รวมของตนได้อย่างเป็นเหมาะสม มีค่านิยมที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้ง มีวินัย และมีการบริหารจัดการเวลาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถศึกษาพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ การเรียน และการทำงานอาชีพได้เหมาะสม และพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
องค์ประกอบที่ 3 การบริหารและการจัดการ
สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มีการดำเนินงานในภารกิจหลัก และภารกิจพิเศษอื่น ๆ ภายใต้นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของ ฝ่ายกิจการนักศึกษา และมหาวิทยาลัย โดยมีแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาสำนักงาน แผนปฏิบัติการ แผนบริหารและการจัดการ แผนบริหารความเสี่ยง สอดคล้องกับฝ่ายกิจการนักศึกษา และของมหาวิทยาลัย มีโครงสร้างการบริหาร การจัดบริการด้านสุขภาพ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในทุกตำแหน่งไว้ชัดเจน มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะทางภาษา การพัฒนางานวิจัย การใช้เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนางานที่เกี่ยวข้อง โดยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าอบรม ประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอก เปิดโอกาสให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะและศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยใช้การประเมินแบบ 360 องศา ผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับดีถึงดีมาก มีการติดตามประเมินผลของแผนงาน โครงการต่างๆ ผลการประเมิน
สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มีนโยบาย แผนงานและระบบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และ การพัฒนาคุณภาพงานบริการสุขภาพ มีการตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพของทั้งของหน่วยงานและของฝ่ายกิจการนักศึกษา มีการประชุมชี้แจงการประกันคุณภาพแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานและการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีแผนการป้องกันความเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพงาน และการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากบุคลากรของหน่วยงานได้เข้าร่วมการอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องและร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพของหน่วยงานและของฝ่ายกิจการนักศึกษา นอกจากนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและมีบุคลากรเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและคุณภาพงานบริการเป็นการเฉพาะ มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพงานบริการด้านสุขภาพ พัฒนาบริการการให้คำปรึกษา พัฒนาบุคลากร และพัฒนาปรับปรุงตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาและคุณภาพงานบริการสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้เข้าถึงสิทธิการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพ มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ การบริการสวัสดิการด้านสุขภาพ และ บริการให้คำปรึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบและงานที่เกี่ยวข้อง มีการจัดระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ กิจกรรมและงานบริการสุขภาพต่าง ๆ เพื่อควบคุมและพัฒนาคุณภาพงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้งานมีคุณภาพดียิ่งขึ้นในปีต่อไป มีการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพ, เว็ปไซด์, เฟซบุ๊ค, การประชาสัมพันธ์งานบริการด้านสุขภาพ ของหน่วยงาน โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศ ผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำแผ่นพับ จุลสารสุขภาพ และ รายงานประจำปี 2564 และรับการตรวจประเมินคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการประจำ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช) เขต 4 สระบุรี และการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อประเมินคุณภาพงานและคุณภาพบริการสุขภาพของหน่วยงาน
รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564
1.PDCA โครงการป้องกันและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
2.PDCA โครงการพัฒนาระบบสวัสดิการด้านสุขภาพ 64
3.PDCA โครงการคลินิกการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา
4. PDCA โครงการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง 64
5. PDCA โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการให้คำปรึกษา 64
6.PDCA โครงการคลินิกรังสิตฟ้าใส 64
9.PDCA โครงการสร้างเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย 64
10.PDCA โครงการรณรงค์ป้องกันไข้หวัดใหญ่
11.PDCA โครงการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออก ปีการศึกษา 64
12.PDCA โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน ปีการศึกษา 64
13.PDCA โครงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแกบุคลากรเครือข่าย 64
14.PDCA โครงการ มหาวิทยาลัยรังสิตปลอดโควิด
15.PDCA โครงการตรวจสุขภาพนักศึกษาใหม่ 64
16.PDCA โครงการหลักประกันสุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต 64
17.PDCA โครงการประกันอุบัติเหตุ 64