กายภาพบำบัด คืออะไร ?
กายภาพบำบัดคือวิชาชีพด้านสุขภาพที่ช่วยส่งเสริม ป้องกัน และรักษาความผิดปกติของการเคลื่อนไหวในร่างกาย ดำเนินการโดยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapist หรือ PT) ซึ่งใช้เครื่องมือและวิธีการเฉพาะในการรักษา นักกายภาพบำบัดต้องสอบใบอนุญาตเพื่อทำงานในสถานพยาบาลต่าง ๆ การเข้ารับบริการไม่จำเป็นต้องรอคำแนะนำจากแพทย์ ยกเว้นในกรณีที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรง
กายภาพบำบัด มีกี่ประเภท
กายภาพบำบัดสามารถแบ่งได้ดังนี้
กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (orthopedic)
กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท (Neurological)
กายภาพบำบัดหลอดเลือดและหัวใจ (Cardiopulmonary)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric)
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย (Geriatric)
อุปกรณ์ช่วยในการกายภาพบำบัด
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator)
เครื่องคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound therapy)
เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy)
เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy)
เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Stimulator)
เครื่องดึงหลังดึงคอ (Pelvic/Cervical Traction)
ฝังเข็ม (dry needling)
บำบัดด้วยมือ (Manual therapy)
Deep friction การกดแรงลงไปตรงจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อเพื่อขยายคลายก้อนกล้ามเนื้อกระต้นให้เกิดการไหลเวียน
Mobilization การตึงขยับข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะข้อติดแข็ง เช่น โรคข้อไหล่ติด นักกายภาพบบำบัดจะพิจารณาการติดของข้อตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อเกี่ยวพันบริเวณที่ดัด ขยับ ดึงให้ยืดหยุ่นและกลับเข้าที่ เพิ่มการเคลื่อนไหวมากขึ้น
Exercise Therapy เป็นการออกแบบท่าออกกำลังกายของแต่ละบุคคลโดยการบริหารการยืดกล้ามเนื้อเพื่อปรับสมดุลเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อป้องกันการบาดเจ็บและการเกร็งตัวของกล้ามนื้อซ้ำอีก
ข้อควรระวังในการกายภาพบำบัด
ความถี่ที่เหมาะสมในการทำกายภาพบำบัดในช่วงแรกควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถ้าทำมากไป กล้ามเนื้ออาจจะเกิดอาการล้า ระบม และอ่อนเพลีย แต่หากทิ้งช่วงการรักษานานเกินไปเป็นสองสัปดาห์ครั้งหรือเดือนละ 1 ครั้ง การรักษาจะเห็นผลช้า
หลังกายภาพบำบัดไม่ควรกดบีบนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่รักษาเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเขียวช้ำได้ง่าย
อ้างอิง : สรีรารัก กายภาพบำบัด